วันอังคารที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2551

การจัดการฝึกอบรมทางการศึกษา

ประมวลรายวิชา
(Course Syllabus)

1. รหัสวิชา 103494 2. จำนวนหน่วยกิต 3(2 - 2)
3. ชื่อวิชา การจัดการฝึกอบรมทางการศึกษา (Management of Training in Education)
4. คณะ/โปรแกรมวิชา ครุศาสตร์/เทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา
5. ภาคการศึกษา ต้น
6. ปีการศึกษา 2551 7. ชื่อผู้สอน ดร. สุภณิดา ปุสุรินทร์คำ
โทรศัพท์ 044 - 242850 ต่อ 1105
e- mail: dr.supanida@gmail.com
weblog: www.opalnida.blogspot.com
8. สถานภาพของวิชา วิชาเฉพาะ
9. ชื่อหลักสูตร หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรม
การศึกษา
(Bachelor of Education Program in Educational
Technology and Innovation)
10. วิชาระดับ ปริญญาตรี
11. จำนวนชั่วโมงที่สอน/สัปดาห์ 3 ชั่วโมง
12. คำอธิบายรายวิชา (Course Description)
รูปแบบการฝึกอบรม การสำรวจสภาพปัญหาและความต้องการในการฝึกอบรม
การดำเนินการด้านบุคลากร งบประมาณ อาคารสถานที่ และสิ่งอำนวยความสะดวกในการฝึกอบรม การวางแผน การเขียนโครงการ การประเมินผล และการรายงานผลการฝึกอบรมทางการศึกษา
ฝึกปฏิบัติการจัดการฝึกอบรมทางการศึกษา การประเมิน และการรายงานผล


13. ประมวลการเรียนรายวิชา (Course Outline)
13.1 วัตถุประสงค์ทั่วไป และวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
วัตถุประสงค์ทั่วไป
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความสามารถเกี่ยวกับหลักการ ทฤษฎี แนวทาง วิธีปฏิบัติ
ต่างๆ เกี่ยวกับการจัดการฝึกอบรม เพื่อนำไปใช้เป็นแนวทางในการนำไปใช้ประโยชน์ต่อวิชาชีพต่อไป
วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม เพื่อให้นักศึกษาสามารถ
1) อธิบายความหมาย ความสำคัญ และประโยชน์ของการฝึกอบรมได้
2) ยกตัวอย่าง และอธิบายหลักการ และทฤษฎีทางจิตวิทยาที่นำมาใช้ในการจัดการ
ฝึกอบรม
3) จำแนกประเภทของการฝึกอบรมได้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการฝึกอบรม
4) อธิบายเทคนิคการฝึกอบรมได้
5) บอกขั้นตอนหลักของรูปแบบการฝึกอบรมได้
6) อธิบายการวิเคราะห์ความต้องการ และการพิจารณาความจำเป็นในการฝึกอบรมได้
7) กำหนดวัตถุประสงค์ในการฝึกอบรมได้
8) อธิบายกระบวนการจัดทำหลักสูตร และโครงการฝึกอบรมได้
9) เขียนโครงการจัดการฝึกอบรมได้
10) อธิบายวิธีบริหารโครงการฝึกอบรมได้
11) บอกวิธีการประเมินผลโครงการฝึกอบรมได้
12) ปฏิบัติการจัดการฝึกอบรม และประเมินผลได้

13.2 เนื้อหารายวิชาต่อสัปดาห์ (Learning Contents)
1) ความหมาย ความสำคัญ ประโยชน์ของการฝึกอบรม
2) หลักการ และทฤษฎีทางจิตวิทยาสำหรับการฝึกอบรม
3) ประเภท และเทคนิคการฝึกอบรม
4) การจัดการฝึกอบรมอย่างเป็นระบบ
4.1) แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการฝึกอบรมอย่างเป็นระบบ
4.2) รูปแบบการฝึกอบรม
5) การวิเคราะห์ความต้องการ และการพิจารณาความจำเป็นในการฝึกอบรม
5.1) การวิเคราะห์ความต้องการในการฝึกอบรม (Training Need Identification)
5.2) การพิจารณาความจำเป็นในการฝึกอบรม (Training Need Assessment)
6) การกำหนดวัตถุประสงค์ในการฝึกอบรม
7) การจัดทำหลักสูตรและโครงการฝึกอบรม
8) การบริหารโครงการฝึกอบรม
9) การประเมินผลโครงการฝึกอบรม
10) ฝึกปฏิบัติการจัดการฝึกอบรม และประเมินผล

13.3 วิธีจัดการเรียนการสอน
1) บรรยาย
2) การบรรยายเชิงอภิปราย
3) ระดมสมอง และการอภิปราย
4) การสรุปประเด็นสำคัญ และการนำเสนอผลของการสืบค้น หรือผลของงานที่ได้รับ
มอบหมายหน้าชั้นเรียน
5) ฝึกปฏิบัติ

13.4 สื่อการสอน
1) แผ่นใส และแผ่นทึบ
2) สื่อนำเสนอในรูปแบบ PowerPoint
3) เอกสารประกอบการบรรยาย

13.5 ข้อกำหนดวิธีการมอบหมายงาน และส่งงาน ดังนี้
1) ผลงานรายบุคคล: การศึกษาค้นคว้า แนวคิด หลักการ ทฤษฎี สรุปประเด็น
สำคัญ และการนำเสนอผลของการสืบค้น หรือผลของงานที่ได้รับมอบหมาย (5 ชิ้นงาน)
1.1) นักศึกษาจะได้รับมอบหมายให้ศึกษา ค้นคว้าแนวคิด หลักการ ทฤษฎี
การจัดการฝึกอบรม จากบทความ หนังสือ งานวิจัย วิทยานิพนธ์ หรือจากแหล่งข้อมูลอื่นๆ ตามหัวข้อที่ได้รับมอบหมาย ทำความเข้าใจ และเขียนสรุปประเด็นสำคัญ
1.2) นักศึกษาต้องส่งงาน ตามกำหนดเวลาเท่านั้น ไม่รับงานที่ส่งหลังกำหนด เวลาไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น
1.3) งานทุกชิ้นที่มีการศึกษาค้นคว้า นักศึกษาต้องเขียนรายการอ้างอิงกำกับ
ด้วย โดยเขียนตามหลักการพิมพ์ของบัณฑิตวิทยาลัย (ศึกษาจากคู่มือการทำวิทยานิพนธ์และ
ภาคนิพนธ์)
1.4) พิมพ์เนื้อหาสาระของผลงานลงกระดาษ A 4 ขนาดตัวอักษรไม่เกิน 16
point หรือเขียนด้วยลายมือที่อ่านง่าย ความยาวตามกำหนดของแต่ละชิ้นงาน และไม่ต้องเข้าเล่ม
1.5) นำเสนอผลของการสืบค้น หรือผลของงานที่ได้รับมอบหมายหน้าชั้นเรียน
1.6) รับผลงานคืน ในการจัดการเรียนการสอนครั้งต่อไป

2) ผลงานกลุ่ม
2.1) โครงการฝึกอบรมทางการศึกษา กลุ่มละ 1 โครงการ (กลุ่มย่อย)
2.2) ปฏิบัติการจัดฝึกอบรม และประเมินผล จำนวน 1 ครั้ง ใช้ระยะเวลา 3 ชั่วโมง (กลุ่มใหญ่)
วิธีการ
2.2.1) ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม จำนวน 3 กลุ่มๆ ละ 5 – 6 คน สมาชิกในกลุ่ม
ร่วมจัดทำโครงการฝึกอบรมทางการศึกษา กลุ่มละ 1 โครงการ และนำเสนอโครงการ (กลุ่มย่อย)
2.2.2) พิจารณาความเหมาะสม และความเป็นไปได้ในดำเนินการจัดฝึกอบรม และคัดเลือกโครงการที่
นำเสนอมา 1 โครงการ เพื่อปฏิบัติการจัดฝึกอบรมและประเมินผล (กลุ่มใหญ่)
2.2.3) สมาชิกในกลุ่มร่วมปฏิบัติการวางแผนการบริหารโครงการ (กลุ่มใหญ่)
2.2.4) สมาชิกในกลุ่มปฏิบัติการวางแผนประเมินผลโครงการ
2.2.5) สมาชิกในกลุ่มปฏิบัติการจัดฝึกอบรมและประเมินผล ตามโครงการฝึกอบรมที่กลุ่มได้คัดเลือก (กลุ่มใหญ่)
- จัดฝึกอบรมและประเมินผล 1 ครั้ง ใช้ระยะเวลา 3 ชั่วโมง ในเวลาราชการ
- เชิญวิทยากรมาบรรยาย (จากภายใน หรือภายนอก)
- กลุ่มเป้าหมาย คือ นักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต คณะครุศาสตร์
โปรแกรมวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา และนักศึกษาคณะครุศาสตร์ โปรแกรมวิชาอื่นๆ หรือต่างคณะ
2.2.6) สมาชิกในกลุ่มทำการสรุปผลการดำเนินงาน ปัญหา อุปสรรค
และข้อเสนอแนะในการดำเนินการตามโครงการฝึกอบรมที่จัดทำขึ้น และนำเสนอในสัปดาห์สุดท้ายของการเรียนการสอน (กลุ่มใหญ่)

13.6 การวัดผลการเรียน
1) คะแนนระหว่างภาค 70%
- การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน 10%
- งานมอบหมาย (รายบุคคล) 20% (จำนวน 5 ครั้ง)
- การเขียนโครงการ (รายกลุ่ม: กลุ่มย่อย) 20%
- ปฏิบัติการจัดการฝึกอบรม และประเมินผล (รายกลุ่ม: กลุ่มใหญ่) 20%
2) คะแนนปลายภาค 30%

14. แผนการสอน

สัปดาห์ที่ /หัวข้อ/ กิจกรรม
1 ความหมาย ความสำคัญ ประโยชน์ ของการฝึกอบรม/บรรยาย
2 หลักการ และทฤษฎีทางจิตวิทยาสำหรับการฝึกอบรม/บรรยาย แบ่งกลุ่ม ระดมสมอง และอภิปราย และนำเสนอหลักการ และทฤษฎีทางจิตวิทยา
3 ประเภท และเทคนิคการฝึกอบรม/บรรยาย - อภิปราย
4 การจัดการฝึกอบรมอย่างเป็นระบบ/บรรยาย
5-6 การวิเคราะห์ความต้องการ และการพิจารณาความจำเป็นในการฝึกอบรม/บรรยาย
7 การกำหนดวัตถุประสงค์ในการฝึกอบรม/บรรยาย
8-9 การจัดทำหลักสูตรและโครงการฝึกอบรม/บรรยาย เขียนโครงการ และนำเสนอโครงการ (รายกลุ่ม: กลุ่มย่อย)
10 การบริหารโครงการฝึกอบรม/บรรยาย ปฏิบัติการวางแผนการบริหารโครงการ (รายกลุ่ม: กลุ่มใหญ่)
11-12 การประเมินผลโครงการฝึกอบรม/บรรยาย ปฏิบัติการวางแผนประเมินผลโครงการ (รายกลุ่ม: กลุ่มใหญ่)
13-14 ปฏิบัติการจัดการฝึกอบรมและประเมินผลจัดการฝึกอบรม (กลุ่มใหญ่ จำนวน 1 ครั้ง ใช้ระยะเวลา 3 ชั่วโมง , ในเวลาราชการ)
15 สรุปผลการดำเนินงาน ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะ/รายงานผล (รายกลุ่ม: กลุ่มใหญ่) อภิปราย ซักถาม


15. รายชื่อเอกสารอ่านประกอบ
ชูชัย สมิทธิไกร. (2548). การฝึกอบรมบุคลากรในองค์การ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ:
สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชาญ สวัสดิ์สาลี. (2546). คู่มือการประเมินและติดตามผลการฝึกอบรมสำหรับ
ผู้รับผิดชอบโครงการฝึกอบรม/สัมมนา. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: สวัสดิการ
สำนักงานก.พ.
นิรันดร์ จุลทรัพย์. (2547). จิตวิทยาการประชุม อบรม สัมมนา. พิมพ์ครั้งที่ 2. สงขลา:
ภารกิจเอกสารและตำรา กลุ่มงานบริการการศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ.
วิจิตร อาวะกุล. (2540). การฝึกอบรม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
วิเชียร ชิวพิมาย และสอิ้ง อภิปาลกุล. (2532). การฝึกอบรมและคู่มือวิทยากร. กรุงเทพฯ:
สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ.
สมชาติ กิจยรรยง และอรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง. (2550). เทคนิคการจัดฝึกอบรมเพื่อพัฒนา
บุคลากรอย่างมีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).
สมคิด บางโม. (2544). เทคนิคการฝึกอบรมและการประชุม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ:
วิทยพัฒน์.