วันศุกร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2551

learning atmosphere






















วันศุกร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2551

เกณฑ์การให้คะแนน

เกณฑ์การให้คะแนนการเขียนโครงการฝึกอบรม
ผลงานกลุ่มย่อย คะแนนเต็ม 20 คะแนน (100%)

1. เนื้อหาสาระ (60%) = 12 คะแนน

1.1 ความเป็นมาของโครงการ (20%) = 4 คะแนน

1.2 ความคุ้มค่า - ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการ (20%) = 4 คะแนน

1.3 ความเป็นไปได้ในการบริหารโครงการ ทั้ง 3 ระยะ ได้แก่ ระยะเตรียมการก่อนการฝึกอบรม ระยะระหว่างดำเนินการฝึกอบรม และระยะหลังดำเนินการฝึกอบรมแล้ว (20%) = 4 คะแนน

2. การใช้ภาษา (20%) = 4 คะแนน

2.1 ความแจ่มแจ้งชัดเจน หมายถึง อ่านได้ใจความชัดเจน เขียนด้วยประโยคที่สมบูรณ์ กะทัดรัด ได้ใจความ ใช้ภาษาที่ถูกต้อง คงเส้นคงวา สุภาพ และ ไม่สะดุด-ติดขัด (10%) = 2 คะแนน
2.2 การใช้ภาษาที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เช่น การเขียนสะกด การันต์ถูกต้อง ไม่ใช้ภาษาพูดมาเป็นภาษาเขียน (10%) = 2 คะแนน


3. การจัดรูปแบบ (20%) = 4 คะแนน

3.1 รูปแบบเหมาะสม หมายถึง การจัดรูปแบบการพิมพ์ในรูปแบบเดียวกันสอดคล้องกันทั้งโครงการ
มีหัวข้อหลัก หัวข้อรอง หัวข้อย่อย มีเลข-ตัวอักษรกำกับหัวข้อที่เป็นรูปแบบเดียวกัน (10%) = 2 คะแนน
3.2 ส่วนประกอบของโครงการครบถ้วน (10%) = 2 คะแนน
ได้แก่
1. ชื่อโครงการ
2. ชื่อผู้เสนอและคณะ หน่วยงานที่สังกัด
3. ความเป็นมาของโครงการ
4. วัตถุประสงค์ของโครงการ
5. แผนหลักสูตรในโครงการ
6. วิธีการดำเนินงาน
7. รายละเอียดหลักสูตรต่างๆ ที่ระบุในโครงการ ประกอบด้วย
7.1 ชื่อหลักสูตร
7.2 หลักการ เหตุผล
7.3 วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
7.4 หัวข้อการฝึกอบรม
7.5 ระยะเวลา
7.6 ผู้เข้ารับการอบรม
7.7 วิทยากร
7.8 วิธีการฝึกอบรม
7.9 วัน เวลา สถานที่
7.10 ผลที่คาดว่าจะได้รับ
7.11 การประเมินผล
7.12 งบประมาณต่อหลักสูตรต่อคน
8. ปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ไข
9. ผู้รับผิดชอบโครงการ


เกณฑ์การให้คะแนนการบริหารโครงการฝึกอบรม
(ปฏิบัติการจัดการฝึกอบรม และประเมินผล (รายกลุ่ม: กลุ่มใหญ่) คะแนนเต็ม 20 คะแนน) (100%)


1. ระยะเตรียมการก่อนการฝึกอบรม (30%) = 6 คะแนน
1.1 ติดต่อ-เชิญวิทยากร
1.2 ติดต่อสถานที่
1.3 เตรียมเอกสารประกอบการฝึกอบรม
1.4 คัดเลือกผู้เข้ารับการฝึกอบรม
1.5 จัดเตรียมงบประมาณ
1.6 ประสานกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
1.7 เตรียมเอกสารพิธีการ/หนังสือราชการ
1.8 การเตรียมสถานที่อุปกรณ์ และจัดทำป้ายต่างๆ
1.9 การเตรียมการสำหรับวันเปิดการฝึกอบรม

พิจารณาให้คะแนน ครบ 3 ข้อย่อย ได้ 2 คะแนน (ครบ 9 ข้อย่อย ได้ 6 คะแนน)

2. ระยะระหว่างดำเนินการฝึกอบรม (30%) = 6 คะแนน ได้แก่
2.1 ตรวจสอบความพร้อมทั่วๆ ไป
2.2 การลงทะเบียน
2.3 พิธีกร
2.4 การต้อนรับ
2.5 พิธีเปิด
2.6 ผู้บริหารโครงการชี้แจงรายละเอียดหลักสูตร
2.7 การแนะนำวิทยากร และกล่าวขอบคุณ
2.8 การเตรียมเอกสารประกอบการฝึกอบรมให้พร้อม
2.9 การอำนวยความสะดวก


พิจารณาให้คะแนน ครบ 3 ข้อย่อย ได้ 2 คะแนน (ครบ 9 ข้อย่อย ได้ 6 คะแนน)

3. ระยะหลังดำเนินการฝึกอบรมแล้ว (40%) = 8 คะแนน ได้แก่

3.1 การประเมินผลโครงการฝึกอบร(20%) = 4 คะแนน ได้แก่
1. กำหนดขอบเขตและวัตถุประสงค์ของการประเมินผล (focus)
2. วางแผนการประเมิน (plan)
3. ดำเนินการตามแผน (implement)

3.2 สรุปรายงานการประเมินผล (report) (20%) = 4 คะแนน ประกอบด้วย

บทนำ (2%) = 0.4 คะแนน
- ความเป็นมาของโครงการฝึกอบรมนั้น
- ช่วงเวลา และสถานที่ที่ดำเนินการฝึกอบรม
- วัตถุประสงค์หลักของโครงการฯ
- จำนวนและหน่วยงานต้นสังกัดของผู้เข้ารับการอบรม
- จุดมุ่งหมายของการประเมินผลครั้งนี้

บทที่ 1 ระเบียบวิธีการประเมินผล (4%) = 0.8 คะแนน
- วัตถุประสงค์ของการประเมินผล
- ขอบเขตของการประเมินผล
- วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
- วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลหรือสถิติที่เกี่ยวข้อง

บทที่ 2 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล (4%) = 0.8 คะแนน
สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลในประเด็นต่างๆ โดยอาจอยู่ในรูปของตารางพร้อมการอธิบายความ

บทที่ 3 สรุปและข้อเสนอแนะ (6%) = 1.2 คะแนน
- สรุปผลของการประเมิน ตามวัตถุประสงค์ของการประเมินผลแต่ละข้อ
- สรุปข้อดีและข้อควรปรับปรุง (ของโครงการฝึกอบรมดังกล่าว)
- ข้อสังเกตของผู้รับผิดชอบโครงการฯ เกี่ยวกับ
- ปัญหาที่พบในการจัดโครงการดังกล่าว
- พฤติกรรมของผู้เข้ารับการอบรมในโครงการฯ นี้
- ข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ
- ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงโครงการฯ (ของผู้เข้ารับการอบรมและของผู้ประเมินเอง)

ภาคผนวก (4%) = 0.8 คะแนน
ได้แก่
1. รายละเอียดโครงการฝึกอบรม หรือหลักสูตรการฝึกอบรม
2.กำหนดการของโครงการฝึกอบรม
3. รายชื่อผู้เข้ารับการฝึกอบรม และรายชื่อวิทยากร ตำแหน่ง หน่วยงานที่สังกัด
4. ผลงานของผู้เข้ารับการอบรม ได้แก่ ชิ้นงาน สรุปรายงาน (เป็นเอกสาร หรือภาพประกอบ)
5. ข้อสังเกตของผู้รับผิดชอบโครงการฯ เกี่ยวกับปัญหาที่พบในการจัดโครงการและพฤติกรรมของผู้เข้ารับการอบรม
6. เครื่องมือต่างๆ ที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบความรู้ แบบประเมินผลต่างๆ